แนะนำโดยทั่วไปว่า การเขียนหนังสือมอบอำนาจปกติแล้วในการสอบภาคทฤษฎีมีการเขียนใน
กระดาษคำตอบที่สำนักอบรมฯกำหนดมาให้อยู่แล้วไม่มีปัญหา แต่ในภาคปฏิบัตินั้นต้องเขียนในกระดาษ
เปล่าที่เขากำหนดมาให้เช่นเดียวกับหนังสือทวงถาม ซึ่งน่าจะเป็นกระดาษเปล่า F4 แต่เวลาหัดเขียนก็
หัดเขียน A4 ก็ได้ การเขียนหนังสือมอบอำนาจนั้นในการสอบส่วนใหญ่จะให้เขียนการมอบอำนาจให้
ร้องทุกข์หรือไม่ก็ฟ้องคดี ทางแพ่งและ/หรืออาญา ก็ต้องดูข้อเท็จจริงที่เขากำหนดให้มาในข้อสอบ ในที
นี้จะขอแนะนำแนวทางการเขียนหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์และฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญา
แน่นอนการเขียนหนังสือมอบอำนาจนั้นก็มีลักษณะบางส่วนคล้ายๆกับหลักเกณฑ์ของ
หนังสือทวงถามและสัญญา มีการลงชือด้วย ดังนั้นรายละเอียดของหนังสือมอบอำนาจได้แก่ ทำที่ไหน
วันที่ทำ รายละเอียดสัญญาว่าใครมอบอำนาจให้ใครทำอะไร และขอบเขตอำนาจที่มอบจำกัดให้ทำแทน
แค่ไหน เพราะหนังสือมอบอำนาจนั้น มีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนตัวการเหมือนกัน ขอแยกอธิบายเป็น
รายข้อดังนี้
1.ทำที่ไหน ส่วนนี้ก็มีการระบุไว้ที่มุมขวามกระดาษเป็นส่วนขึ้นต้นเช่นเดียวกับการร่างหนังสือทวงถาม
สัญญาต่างๆ โดยเขียนขึ้นตามสถานที่ทำหนังสือฉบับนี้
2.วันที่ทำ ในส่วนนี้ก็เหมือนกันเช่นเดียวกับการร่างหนังสือทวงถาม สัญญาต่างๆ ต้องเขียนวันที่ผู้มอบ
อำนาจได้มอบให้ผู้รับมอบอำนาจวันไหนก็เขียนไปจะกำหนดมาให้ในโจทย์อยู่แล้ว โดยเขียนเป็นส่วนที่
สองต่อจากส่วนทำที่ไหนในบรรทัดต่อไป บริเวณตรงกลาง
3.รายละเอียดต่างๆ ตรงนี้เป็นการเขียนถึงรายละเอียดของหนังสือมอบอำนาจว่า คนที่ต้องการมอบ
อำนาจในการร้องทุกข์หรือการฟ้องคดีนั้น ที่เรียกว่า "ผู้มอบอำนาจ" ต้องการที่จะให้คนที่ทำแทนที่เรียก
ว่า "ผู้รับมอบอำนาจ" นั้นให้ดำเนินการร้องทุกข์หรือฟ้องคดีแทน มีการจำกัดขอบเขตให้ทำแทนแค่ไหน
ซึ่งน่าจะกำหนดมาในข้อสอบและหากกำหนดมาก็เขียนตามที่มอบอำนาจให้มาตามที่กำหนดนั้น โดย
ส่วนใหญ่การเขียนรายละเอียดขึ้นต้นของหนังสือมอบอำนาจ มักจะเขียนขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้า ...........
........... อายุ...........อยู่บ้านเลขที่.................ขอมอบอำนาจให้(หรือขอแต่งตั้งให้)....................
.....อายุ...........อยู่บ้านเลขที่.................เป็นผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินกิจการดังต่อไปนี้แทน
ข้าพเจ้าคือ............" ซึ่งจะเขียนกันโดยประมาณนี้ เพื่อความชัดเจนและความมีอยู่จริงของคนมอบและ
คนรับ และต่อมาก็จะระบุเป็นข้อๆไปว่าให้ทำแทนอะไรแค่ไหนโดยจะขอยกตัวอย่างในกรณีมอบอำนาจ
ให้ร้องทุกข์แทน เช่น "ร้องทุกข์และดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจกับ..........................
และ......................รวมทั้งบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของบุคคลทั้งสองดังกล่าวทั้งหมดที่ได้
กระทำความผิดอาญาต่อข้าพเจ้า เมื่อวันที่...............สถานที่................. ............ในข้อหา......
............... และให้มีอำนาจ ให้ถ้อยคำต่อหนักงานสอบสวน ถอนคำร้องทุกข์ รับและส่งเอกสาร ลงลาย
มือชื่อแทน และให้มีอำนาจดำเนินการใดๆอันเกี่ยวกับการร้องทุกข์ ทั้งนี้เพื่อดำเนินการแทนข้าพเจ้า จน
กว่าจะเสร็จการ" เป็นต้น หรือตัวอย่างการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแพ่งและอาญา หลักเกณฑ์ก็คล้ายๆกัน
เพียงแต่เป็นเรื่องที่ดำเนินการในชั้นศาล แต่เรื่องร้องทุกข์เป็นการดำเนินการในชั้นสอบสวน การให้ทำ
แต่ละอย่างก็อาจต่างกันไป แต่จุดประสงค์เดียวกันคือต้องการดำเนินคดีกับอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น "ฟ้องและ
ดำเนินคดีกับ........................ ในข้อหา.................... ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา และการกระทำอัน
เป็นเป็นละเมิดต่อศาลที่มีอำนาจ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปในทางจำหน่ายสิทธิของ
ข้าพเจ้าได้ เช่น การยอมรับรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอม
ความ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ทั้งนี้เพื่อดำเนินการต่างๆแทนข้าพเจ้า จนกว่าจะ
เสร็จการ" เป็นต้น ในกรณีตัวอย่างข้างต้นมีการจำหน่ายสิทธิ หากสังเกตุก็เขียนเหมือนในใบแต่งทนายที่
ให้ท่านรับบทเป็นทนายเขียนอำนาจในการจำหน่ายสิทธิของลูกความ ทั้งนี้เป็นแค่ตัวอย่างเบื้องต้นที่ชี้
แนะให้ทราบ
เมื่อได้เขียนรายละเอียดขอบเขตอำนาจที่มอบเสร็จแล้ว ย่อหน้าใหม่ก็จะเขียนว่า "การใดที่ผู้รับ
มอบอำนาจได้กระทำไปภายในขอบเขตหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้าได้
กระทำเองทุกประการ เพื่อเป็นหลักฐาน จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน" หลังจากนั้นก็มี
การลงชื่อ ผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และ พยาน 2 คน เป็นอันว่าจบ ซึ่งอย่างที่ได้บอกว่าหลัก
เกณฑ์ก็คล้ายๆกับการเขียนหนังสือทวงถามและสัญญาต่างๆ ที่มีทำที่ไหน ลงวันที่ รายละเอียด และ
ตอนท้ายลงชื่อ ซึ่งเชื่อว่าหากได้ทำความเข้าใจ หาหลักแนวคิดและหัดทำข้อสอบเก่าโดยหัดเขียน
บ่อยๆ ก็จะเขียนได้ไม่ยาก ดังนั้นตัวอย่างต่างๆแนะนำให้ดูจากข้อสอบเก่าของ สำนักฝึกอบรมฯและ
อ่านหนังสือของทางสำนักฝึกอบรมฯด้วยนะครับ จะได้ผลสมบูรณ์แบบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น