วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

แนวทางการสอบเป็นทนายความ 3 (ภาคทฤษฎี)

ตัวอย่างจากการร่างคำฟ้องคดีแพ่งนั้น สามารถไปดูได้ที่รวมข้อสอบเก่าของสำนักฝึกอบรมฯได้ ซึ่ง

จำหน่ายที่สภาทนายความ ไว้ใช้ประกอบดูหนังสือวิชาว่าความอื่นๆได้ ต่อไปจะเป็นการแนะนำการร่าง

ฟ้องคดีอาญาซึ่งมีหลักการที่แตกต่างกันอยู่กับคำฟ้องแพ่ง

 การร่างฟ้องคดีอาญา ในคดีอาญาถ้าพูดในแง่ของการสอบนั้นย่อมเห็นได้ว่ามีการให้คะแนนที่น้อย

กว่าฟ้องแพ่งเยอะและการบรรยายฟ้องค่อนข้างที่จะไม่ยากเท่ากับฟ้องแพ่งมากนักทั้งนี้การบรรยายฟ้อง

โดยทั่วไปแล้ว ข้อสอบจะกำหนดตัวบทมาตรากฎหมายมาให้ปรับใช้ได้เลย และบรรยายการฟ้องใน

ลักษณะย่อความรัดกุม ได้ใจความ เข้าใจชัดเจน แต่ต้องทำความเข้าใจกับฟ้องอาญาในส่วนต่างๆว่าแต่

ละส่วนเขียนอะไรอย่างไร ซึ่งจะแนะนำให้ทราบดังนี้

ในส่วนแรก ในส่วนนี้จะเหมือนกับฟ้องแพ่งคือฐานะคู่ความที่จะต้องบรรยาย เว้นแต่บางกรณีซึ่งไม่ต้อง

บรรยายเหมือนฟ้องแพ่ง รายละเอียดดูได้ตามที่ผมได้อธิบายไว้ในฟ้องแพ่ง

ในส่วนที่สอง ในส่วนนี้จะบรรยายถึงพฤติการณ์ต่างๆว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น บรรยายถึง การกระทำ

ทั้งหลายของจำเลยซึ่งได้กระทำผิด เวลา สถานที่กระทำผิด รวมทั้งบุคคล สิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยตาม

สมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อได้ดี โดยทั่วไปมักจะนิยมเขียนว่า "เมื่อวันที่............เวลา........

จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย กล่าวคือ................................................." ซึ่งราย

ละเอียดต่างๆ จะกำหนดมาให้ในข้อสอบต้องดูข้อเท็จจริงและเรียบเรียง ย่อความให้ดีๆ ซึ่งสามารถดูได้

จากข้อสอบเก่าต่างๆจะได้เห็นภาพมากขึ้น ซึ่งคิดว่าไม่น่ามีปัญหาในส่วนนี้

ในส่วนที่สาม เป็นการบรรยายต่อจากส่วนที่สองกล่าวคือเมื่อได้ อธิบายว่าเมื่อวันที่เท่าใดเวลาไหน

จำเลยทำอะไร อย่างไร ยังไง แล้ว ในส่วนนี้เป็นการบรรยายว่าการกระทำของจำเลยที่บรรยายมานั้น ผิด

ต่อกฎหมายอะไรเข้าข่ายความผิดข้อหาหรือฐานความผิดอะไรซึ่งตรงนี้จะมีการกำหนดมาให้ในข้อสอบ

โดยมักจะเขียนว่า "การกระทำของจำเลยเป็นการ............(อธิบายตามตัวบทกฎหมาย)..............ซึ่ง

ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นความผิดต่อกฎหมาย"

                หลังจากนั้นก็ขึ้นบรรทัดใหม่บรรยายถึงเหตุเกิดในคดีนี้ด้วยว่าเกิดขึ้นที่ไหน เพื่อแสดงถึง

เขตอำนาจศาลว่าคดีนี้เกิดที่ไหนก็อยู่ในอำนาจของศาลนั้นตามหลักที่ว่า ศาลท้องที่ๆความผิดนั้นเกิดมี

อำนาจชำระคดี เขียนว่า"เหตุเกิดที่ แขวง............เขต..............กรุงเทพมหานคร" และบรรทัดต่อมาก็

บรรยายคดีนี้มีการร้องทุกข์หรือไม่ ถ้ามีก็บรรยายว่า"โจทก์ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน สถานี

ตำรวจ............รายละเอียดปรากฎตาม................." แต่หากไม่มีการร้องทุกข์ก็บรรยายว่า"โจทก์มิได้

ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน เพราะประสงค์จะดำเนินคดีเอง" และทิ้งท้ายด้วยบรรทัดใหม่ทางริม

ขวาว่า "ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด"

       ตัวอย่างฟ้องอาญาสามารถศึกษาได้จากหนังสือรวมข้อสอบเก่าได้ ผมเพียงชี้แนะแนวทางให้ และ

หลักการคิดพอสังเขป ซึ่งหลักๆแล้วก็แนะนำให้ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือต่างๆที่มีผู้เขียนต่างๆทำขึ้น ใน

ส่วนฟ้องอาญาไม่มีปัญหามาก ผมขอจบตรงนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น