วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556
แนวทางการสอบเป็นทนายความ 2 (ภาคทฤษฏี)
โดยหลักแล้ว การร่างฟ้องคดีแพ่ง ถ้าศึกษาจากคู่มือ หนังสือ ตำราต่างๆ จะเห็นว่ามีสาระสำคัญใน
การเขียนฟ้องคือ แบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ
-ส่วนแรก เป็นการบรรยายถึงฐานะหรือสถานะพิเศษของคู่ความคือโจทก์หรือจำเลยซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยว
โยงกับส่วนที่สองและสาม ต้องบรรยายให้ทราบก่อนว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นใคร มีฐานะหรือสถานะ
อย่างไร อันจะทำให้เข้าใจก่อนที่จะไปเกริ่นเข้านิติสัมพันธ์ อาทิ
1.1 โจทก์หรือจำเลยเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน
จำกัด ต้องบรรยายด้วย ตัวอย่าง โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้อง
ตามกฎหมาย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าขายอาหารและเครื่องดื่ม มีนาย ซื่อดี จิงใจ เป็นกรรมการ
ผู้จัดการมีอำนาจในการลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนโจทก์ได้ รายละ
เอียดปรากฎตามหนังสือรับรองฯเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 เป็นต้น
จากตัวอย่างสังเกตุว่าต้องอ้างหลักฐานประกอบด้วยเป็นหนังสือรับรองว่า มีการจดทะเบียนจริงถูก
ต้องตามกฎหมาย
1.2 โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้หย่อนความสามารถตามกฎหมาย ได้แก่ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถหรือ
คนเสมือนไร้ความสามารถโดยทั่วไปต้องให้บุคคลที่มีสิทธิทำแทนเป็นคนฟ้องหรือต้องได้รับความ
ยินยอมจากบุคคลที่ดูแลตามกฎหมาย กล่าวคือ ผู้เยาว์มีผู้แทนโดยชอบธรรม คนไร้ความสามารถมีผู้
อนุบาล คนเสมือนไร้ความสามารถมีผู้พิทักษ์ เป็นผู้ฟ้องแทน ตัวอย่าง โจทก์เป็นผู้เยาว์มี นายชายชาติ
รักดี เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย รายละเอียดปรากฎตามสำเนาสูติบัตร
และใบสำคัญการสมรสของบิดามารดาโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข1-2 เป็นต้น
1.3 โจทก์หรือจำเลยได้มอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องแทนต้องบรรยายด้วยเพื่อจะได้ทราบว่าโจทก์
ให้ดำเนินการฟ้องและดำเนินคดีแทนพร้อมอ้างหลักฐาน เช่น คดีนี้โจทก์ได้มอบอำนาจให้นายช่วงสิทธิ
สืบสาน เป็นผู้รับมอบอำนาจในการฟ้องและดำเนินคดีแทน รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือมอบ
อำนาจเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 เป็นต้น
1.4 โจทก์หรือจำเลย เป็นเจ้าของทรัพย์สินใดทรัพย์สินหนึ่งซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับคดีโดย
ตรง หรือเป็นทรัพย์สินที่พิพาท ต้องอ้างความเป็นเจ้าของด้วยโดยหลักแล้วถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริม
ทรัพย์ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีการจดทะเบียนต้องอ้างพร้อมหลักฐาน ตัวอย่าง โจทก์เป็นเจ้าของมี
กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่........เลขที่ดิน.....................................รายละเอียดปรากฎตาม
สำเนาโฉนดที่ดินเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีกรณีอื่นอีกนอกจากนี้ เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกให้เห็นโดยทั่วไปเท่านั้น อย่าง
กรณีที่โจทก์หรือจำเลยมีสถานะพิเศษ ที่ต้องบรรยายให้ทราบเพราะมีผลต่อความเสียหาย เช่น คดีหมิ่น
ประมาทย่อมทำให้ผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นคนมีเกียรติของสังคมเสียหายมาก อย่างนักร้องชื่อดัง ดารา
นางงามระดับจังหวัด เป็นต้น ต้องบรรยายให้ทราบด้วย
***ข้อสังเกตุ ไม่ต้องบรรยายในส่วนนี้ก็ได้ หากไม่มีความสำคัญที่ต้องอธิบายเรื่องฐานะคู่ความ ซึ่งเป็น
เรื่องที่ข้ามไปอธิบายในส่วนที่สองนิติสัมพันธ์ได้เลย
-ส่วนที่สอง เป็นการบรรยายในส่วนของนิติสัมพันธ์ซึ่งเป็นการบรรยายในเรื่องของความสัมพันธ์ ที่มา
ความเกี่ยวข้องของคู่ความกันหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ในทางข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพื่อนำ
ไปสู่ประเด็นเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิ ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 55 ดังนั้น ในส่วนที่แรกที่ได้อธิบายไปแล้ว
ข้างต้นก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ แต่นิติสัมพันธ์นั้นโดยหลักต้องมีเพื่อไปนำไปสู่การวินิจฉัยถึง
การโต้แย้งสิทธิ เว้นแต่ในเรื่องของละเมิดที่เป็นกรณีที่เกิดเหตุโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้น โดยไม่จำ
เป็นต้องมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนจึงไม่จำเป็นต้องบรรยายส่วนนี้ก็ได้ ในส่วนของนิติสัมพันธ์นั้นมัก
จะออกสอบเรื่องนิติกรรมสัญญา ซึ่งต้องมีการบรรยายถึงนิติสัมพันธ์ หรือมีเรื่องอื่นๆที่มีการโต้แย้งสิทธิ
ซึ่งต้องมีการบรรยายถึงนิติสัมพันธ์ก่อน
ตัวอย่างการบรรยายถึงนิติสัมพันธ์ก่อนนำไปสู่การโต้แย้งสิทธินั้น เช่น "เมื่อวันที่...............จำเลยได้
ตกลงทำสัญญาซื้อรถยนต์จากโจทก์ในราคา 800,000 บาท โดยมีการตกลงในสัญญาซื้อขายว่า "ข้อ4
ผู้ขายจะดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว" และสัญญา "ข้อ
2 ผู้ซื้อตกลงชำระราคารถยนต์โดยผ่อนชำระเป็นงวดๆละ 50,000 บาทต่อเดือน โดยชำระทุกวันที่ 1-5
ของทุกเดือน......" รายละเอียดปรากฎตาม...............เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข..........
ปรากฎว่าจำเลยได้ชำระราคารถยนต์มาตลอดทุกเดือนเป็นจำนวน 700,000 บาท
เหลือหนี้ที่จำเลยต้องใช้เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท แต่จำเลยไม่ได้ชำระราคาที่เหลือ โดยผิดนัด
ชำระราคาเป็นเวลา 2 เดือน รายละเอียดปรากฎตาม............เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข.............ต่อ
มาจำเลยได้เรียกร้องให้โจทก์ไปดำเนินการจดทะเบียนให้แก่จำเลย"
จากตัวอย่างจะเห็นว่าเป็นการบรรยายถึงความสัมพันธ์ของคู่ความว่าทำอะไรต่อกัน อย่างไร มี
หลักฐานอะไรประกอบ และเกิดอะไรขึ้น ซึ่งต้องบรรยายให้เข้าใจ ชัดเจน และประติประต่อด้วย ซึ่งข้อ
เท็จจริงดังกล่าวผมได้ตั้งขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นว่าการบรรยายนิติสัมพันธ์นั้นเป็นอย่างไร เมื่อบรรยายใน
ส่วนนี้แล้ว ต่อไปจะเป็นการบรรยายเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิว่า ได้รับความเสียหาย โต้แย้งสิทธิแก่โจทก์
อย่างไร
-ส่วนที่สาม เป็นการบรรยายถึงเหตุแห่งการโต้แย้งสิทธิว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร หรือจำเลย
ผิดสัญญาอย่างไร จำเลยละเมิดโจทก์อย่างไร เป็นต้น ซึ่งอย่างที่ได้อธิบายมาแล้วต้องมีการบรรยายถึง
นิติสัมพันธ์ระหว่างคู่ความก่อน จึงมาอธิบายส่วนนี้ ยกเว้นเรื่องละเมิดนั้นอาจไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันเ
เพราะเรื่องละเมิดนั้นคู่ความไม่ได้มีนิติสัมพันธ์กันมาก่อน เมื่อเกิดเหตุละเมิดขึ้นจึงถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิ
ทันที ดังนั้น ตัวอย่างการบรรยายการโต้แย้งสิทธินั้น จะขอยกตัวอย่างให้ดูต่อจากตัวอย่างส่วนที่สองดัง
นี้
"การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียเนื่องจากไม่
ได้รับการชำระหนี้จากจำเลยในงวดที่เหลือ และ สัญญาซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวเป็นสัญญามีเงื่อนไข
กรรมสิทธิ์ย่อมไม่โอนไปยังจำเลย จนกว่าจำเลยจะได้ชำระเงินครบถ้วน โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องไปจด
ทะเบียนให้แก่จำเลยแต่อย่างใด ดังนั้น.................."
ที่ยกตัวอย่างให้เห็นแบบนี้เพื่อจะได้เห็นว่าทำไมถึงโจทก์ถึงถูกโต้แย้งสิทธิได้ ซึ่งสืบเนื่องมาจาก
ส่วนที่สองที่ได้อธิบายไว้แล้วว่ามีนิติสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร แล้วต่อมาทำไมถึงมีการต่อแย้งสิทธิกันได้
กรณีที่ยกตัวอย่างให้เห็นโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยการที่จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งก่อให้
เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะมาขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเรียกค่าเสียหายได้ ซึ่งจะได้อธิบายต่อ
ไป กรณีนี้โจทก์อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ หากมีการวางมัดจำหรือมีข้อสัญญาเบี้ยปรับ ก็อาจจะริบ
ได้ทั้งหมดตามสัญญา เป็นต้น
-ส่วนที่สี่ เป็นการบรรยายในส่วนที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเรียกค่าเสียหาย
ต่างๆซึ่งตรงนี้ต้องดูว่าถูกโต้แย้งสิทธิเรื่องอะไรเสียหายเรื่องอะไรจากส่วนที่สาม จึงมาบรรยายในส่วนนี้
ว่าต้องการอะไร ซึ่งตรงนี้ตามข้อสอบจะกำหนดมาให้ในข้อเท็จจริงว่าต้องการขอให้ศาลทำอะไร โดย
หลักๆแล้วจะเป็นเรื่องของการเรียกค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ละเมิด นิติกรรม
สัญญาหรือเรื่องอื่นๆมักจะขอให้ชำระค่าเสียหาย หรือ ค่าสินไหมทดแทน หรือ ชำระหนี้ต่างๆ พร้อม
ดอกเบี้ยซึ่งตรงนี้ จะแนะนำถึงการคิดค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยพอสังเขปเพื่อให้รู้หลักแนวการคิด
สมมติว่ามีคดีหนึ่งโจทก์ต้องการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการที่อีกฝ่าย
หนึ่งทำละเมิดการคิดค่าเสียหายในเหตุละเมิดนั้น สามารถคิดดอกเบี้ยได้จากวันที่ทำละเมิดว่าเสีย
หายอย่างไร ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลไปเท่าใด เสียหายจากการที่ไปทำงานไม่ได้ ค่าเสียหายอื่นๆอันมิ
ใช่ตัวเงิน ทั้งนี้ลองศึกษาดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 443-446 เมื่อได้ค่าเสียหายที่แน่นอนแล้วมีสิทธิเรียก
ดอกเบี้ยได้ซึ่งดอกเบี้ยนี้มีสิทธิคิดได้นับแต่วันที่จำเลยทำละเมิดโจทก์ซึ่งหมายความว่า โจทก์มีสิทธิคิด
ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด เช่น จำเลยทำละเมิดโจทก์วันที่ 1 มกราคม 2556 สมมติ
ค่าเสียหาย 5,000 บาท โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย 5,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตตราร้อยละ 7.5
ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ทำละเมิด เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ๆจึงมีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยเมื่อวันที่
15 มกราคม 2556 ให้ชำระหนี้ภายใน 15 วัน ต่อมาไม่ชำระหนี้ จึงนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อวันที่ 5
กุมภาพันธ์ 2556 เช่นนี้การคิดดอกเบี้ยเริ่มนับตั้งแต่วันทำละเมิดคือวันที่ 1 มกราคม แต่ไม่ชำระค่า
เสียหายพร้อมดอกเบี้ย ดอกเบี้ยจึงคิดถึงวันฟ้อง คือวันที่ 5 ที่โจทก์นำฟ้องเป็นเวลา 35 วัน ดอกเบี้ยก็
คิดเป็น 1เดือนกับอีก 5 วัน และค่าเสียหายอีก 5,000 บาท เป็นต้น
กระผมขอแนะนำในส่วนนี้ให้สังเกตุได้จากข้อสอบเก่าของสภาทนายความจะได้เห็น
ตัวอย่างเห็นภาพมากกว่าเพราะจะมีข้อเท็จจริงที่ละเอียดกว่าและสมบูรณ์มากกว่า โดยเฉพาะเรื่องการ
คำนวณดอกเบี้ยการคิดค่าเสียหายว่า ให้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป หรือ
นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป ต้องดูดีๆ หากคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้อง แสดงว่า มี
การคิดดอกเบี้ยก่อนหน้าซึ่งอาจเป็นการคิดดอกเบี้ยซึ่งมีการตกลงให้คิดได้ตามสัญญา หรือ
ดอกเบี้ยอันเกิดจากการผิดนัด จึงคิดมาถึงวันฟ้อง รวมต้นเงิน กลายเป็นยอดเงินใหม่ที่ต้องชำระ
และ ให้ชำระดอกเบี้ยของต้นเงินเก่านับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป แต่หากไม่มีกาารคิดดอกเบี้ยก่อน
หน้า ก็จะเริ่มคิดนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปเลยโดยหลักแล้ว อันนี้ต้องศึกษาจากข้อสอบเก่าเยอะๆและ
ทำความเข้าใจได้ ซึ่งหลังจาก ที่ได้บรรยายส่วนต่างๆมาพอสมควรแล้ว ตอนท้ายก็ต้องบรรยายถึง
การทวงถามไปยังจำเลยว่ามีการทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้วจริงพร้อมอ้างหลักฐานเช่น
"อนึ่ง โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยเพื่อให้ชำระหนี้แล้วเมื่อวันที่
.......... ปรากฎว่าจำเลยได้รับแล้ว แต่ก็เพิกเฉยไม่เคยนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด รายละ
เอียดปรากฎตาม สำเนาหนังสือทวงถามพร้อมใบตอบรับของบริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัดเอกสารท้ายคำ
ฟ้องหมาย เลข............ " เป็นต้น หลังจากนั้นจึงบรรยายอารัมภบทปิดท้ายว่า "โจทก์ไม่มีทางอื่นใด
ที่จะบังคับกับจำเลยได้จึงต้องนำคดีมาฟ้องเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับกับจำเลยต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด"
ติดตามต่อ ---------->>>>> แนวทางการสอบเป็นทนายความ 3 (ภาคทฤษฏี)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น