อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 (3) และมาตรา 38
และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ ตามมาตรา 28
แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528
คณะกรรมการสภาทนายความออกข้อบังคับว่าด้วยการฝึกอบรมวิชาว่าความไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า `ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการฝึกอบรมวิชาว่าความ พ.ศ. 2529'
ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้
`สำนักฝึกอบรม' หมายถึง สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ
`คณะกรรมการ' หมายถึง
คณะกรรมการอำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ
ซึ่งคณะกรรมการสภาทนายความได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมและบริหารกิจการตาม
ข้อบังคับนี้
`ผู้อำนวยการ' หมายถึง ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ ซึ่งคณะกรรมการสภาทนายความแต่งตั้ง
หมวด 1
สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ
ข้อ 4 ให้สภาทนายความจัดตั้งสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ เรียกว่า
`สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ'
เพื่อฝึกอบรมหลักปฏิบัติเบื้องต้นในการว่าความ ฝึกอบรมมารยาททนายความ
และการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย
ข้อ 5 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมวิชาว่าความ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2)
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรืออนุปริญญาทางนิติศาสตร์
หรือประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์ ซึ่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
หรืออนุปริญญาจากสถาบันการศึกษา
ซึ่งสภาทนายความเห็นว่าสถาบันการศึกษานั้นมีมาตรฐานการศึกษาที่ผู้ได้รับ
ปริญญาตรีหรืออนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้
(3) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
และไม่เป็นผู้ได้กระทำการใดซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อ
สัตย์สุจริต
(4) ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(5) ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมวิชาว่าความซึ่งได้ผ่านการฝึกอบรมที่จัดโดยสำนักฝึก
อบรมตามหลักสูตรและวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้เท่านั้นมีสิทธิขอจด
ทะเบียนเป็นทนายความ เว้นแต่
ผู้ที่ได้เคยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีในศาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 2
ปี
อาจขอให้คณะกรรมการพิจารณาสั่งยกเว้นให้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนาย
ความได้โดยไม่ต้องเข้ารับการฝึกอบรมตามข้อบังคับนี้
ข้อ 6 ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารกิจการของสำนักฝึกอบรมตามนโยบายหรือมติของคณะกรรมการ
ข้อ 7
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการสภาทนายความ เรียกว่า
`คณะกรรมการอำนวยการสำนักฝึกอบรมแห่งสภาทนายความ' ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการ
และกรรมการอื่นซึ่งคณะกรรมการสภาทนายความแต่งตั้งรวมไม่เกิน 15 คน ทั้งนี้
ให้นายก อุปนายก เลขาธิการสภาทนายความเป็นที่ปรึกษาโดยตำแหน่ง
ข้อ 8 ให้คณะกรรมการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระของคณะกรรมการสภาทนายความซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งให้เข้ารับตำแหน่ง
คณะกรรมการสภาทนายความอาจมีมติให้กรรมการคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งคณะ
พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระก็ได้
และจะแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ตาย
ลาออกหรือต้องพ้นตำแหน่งก่อนวาระก็ได้
คณะกรรมการหรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งแทนนี้ให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่าวาระ
ของกรรมการที่ตนแทน
ข้อ 9 ในกรณีที่คณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ
ไม่ว่าจะเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระหรือก่อนครบกำหนดวาระก็ตาม
ให้ผู้อำนวยการยังคงรักษาการในตำแหน่งเช่นนั้นต่อไปจนกว่าจะมีคณะกรรมการชุด
ใหม่เข้ามารับหน้าที่
ข้อ 10 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการบริหารกิจการสำนักฝึกอบรมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของสภาทนายความ
(2) กำหนดรายละเอียดของหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรม
ตลอดจนเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการศึกษาและฝึกอบรม
ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง
(3) กำหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าลงทะเบียนที่จะพึงเรียกเก็บจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมแต่ต้องไม่เกินสามพันบาท
(4) จัดทำประมาณการรายรับ-รายจ่าย
และรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของสำนักฝึกอบรมเสนอต่อคณะกรรมการสภาทนาย
ความเพื่อให้ความเห็นชอบ
(5) จัดทำรายงานการฝึกอบรมเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสภาทนายความ
(6) คัดเลือก แต่งตั้ง และสับเปลี่ยนผู้บรรยาย ผู้ทดสอบและผู้ควบคุม หรือผู้ให้การฝึกอบรมตามที่เห็นสมควร
(7) แต่งตั้งและถอดถอนที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งได้ตามที่เห็นสมควร
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่จำเป็นและสมควร เพื่อให้กิจการของสำนักฝึกอบรมสำเร็จผลลงด้วยดี
ข้อ 11 ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กำหนดนัดและเรียกประชุมคณะกรรมการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
ในการประชุมคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งจึง
จะเป็นองค์ประชุมให้ผู้อำนวยการหรือกรรมการที่ผู้อำนวยการมอบหมายทำหน้าที่
เป็นประธานที่ประชุม
มติของที่ประชุมคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก
ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
หมวด 2
หลักสูตร
ข้อ 12 ให้สำนักฝึกอบรมจัดให้มีการฝึกอบรมวิชาว่าความเป็นประจำทุกปี ปีละไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง
ข้อ 13 หลักสูตรการฝึกอบรมวิชาว่าความ แบ่งเป็น 2 ภาค ดังนี้
(1) ภาคทฤษฎี ให้สำนักฝึกอบรมกำหนดการอบรมภาคทฤษฎี
โดยมีระยะเวลาให้ฝึกอบรไม่น้อยกว่า 90 ชั่วโมง ในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ก. มรรยาทและจริยธรรมทนายความ
ข. วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ค. วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ง. วิธีดำเนินกระบวนพิจารณาตามกฎหมายอื่น
จ. หลักการให้คำปรึกษากฎหมาย
(2) ภาคปฏิบัติ ให้ฝึกอบรมภาคปฏิบัติเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
การฝึกอบรมภาคปฏิบัติอาจกระทำได้โดยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝึกหัดงานที่
สำนักฝึกอบรมหรือที่สำนักงานทนายความก็ได้
แต่ระยะเวลาฝึกหัดงานแห่งใดแห่งหนึ่งหรือทั้งสองแห่งรวมกันต้องไม่น้อยกว่า
ระยะที่กำหนดในวรรคแรก
หมวด 3
เบ็ดเตล็ด
ข้อ 14
คณะกรรมการมีสิทธิที่จะคัดชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมออกจากทะเบียน
หรือสั่งพักการฝึกอบรมได้
ตามระยะเวลาที่เห็นสมควรหากปรากฏว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมขาดคุณสมบัติหรือ
ประพฤติตนไปในทางที่อาจจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความเสียหายแก่สำนัก
ฝึกอบรมหรือแก่สภาทนายความ
ข้อ 15
ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกาศกำหนดเวลาทำการของสำนักฝึก
อบรม กำหนดเวลาฝึกอบรม กำหนดการสอบและการวัดผล กำหนดการสัมมนาหรือการประชุม
ตลอดจนวันหยุดทำการแต่ละปี เป็นการล่วงหน้า
หมวด 4
บทเฉพาะกาล
ข้อ 16
ให้ผู้ที่ผ่านการอบรมวิชาว่าความของสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย รุ่น 11
และรุ่น12 ประจำปี 2527 และปี 2528 ตามลำดับ และได้รับวุฒิบัตรแล้ว
เป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมวิชาว่าความตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2529
คำนวณ ชโลปถัมภ์
นายกสภาทนายความ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น